วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Mother's Day.

ประวัติวันแม่

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติวันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราแม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยาที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

พระราชวังแวร์ซายส์

พระราชวังแวร์ซายส์

เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก อยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สร้างโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.1661 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จ ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระ การตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ห้องกระจกชื่อ ฮอล ออฟ มิเรอร์ เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งแรกและใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14ทรงทำการก่อสร้าง เองภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายส์อันสวยงามดุจสวนสวรรค์ การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกอง ทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางแมรี่อังตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1789 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประวัติหลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์


ประวัติ :
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองเดโล ในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเเขาเป็นช่างเย็บหนัง ผู้ซึ่งให้การอบรมและส่งเสริมให้บุตรของตนได้รับการศึกษาอย่างดี หลุยส์ ปาสเตอร์เริ่มการศึกษาครั้งแรกในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในกรุงปารีสจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านอักษรศาสตรและต่อมาได้ศึกษาต่อทางด้านเคมีและฟิสิกส์หลังสำเร็จการศึกษาแล้วปาสเตอร์ได้ย้ายไปสอนวิชาเคมีที่เมืองสตราเบิร์กและที่นี่เองเขาแต่งงานกับมารีลอรังต์ซึ่งเป็นลูกสาวของอธิการบดีมหาวิทยาลัยสตาร์เบิร์กหลุยส์ปาสเตอร์ได้ทุ่มเทความพยายามและความสามารถให้กับการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องจุลินทรีย์ หลุยส์ ปาสเตอร์ ค้นพบว่า จุลินทรีย์ เกิดจากฝุ่นละอองและสิ่งมีชีวิตในอากาศสิ่งเหล่านี้เองที่ก่อให้เกิดการบูดเน่าในอาหารผลจากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เราสามารถเก็บรักษาอาการไว้ได้นาน และทำให้เกิดอาหารกระป๋องและบรรจุขวดที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ โดยการฆ่าเชื้อในอาหารและภาชนะที่บรรจุ และที่สำคัญคือเป็นแนวคิดที่ลอร์ดลิสเตอร์นำมาใช้รักษาแผลสดในคนไอันเป็นผลให้คนไข้เหล่านั้น รอดชีวิตจากการอักเสบและการติดเชื้อของแผล หลังจากนั้หลุยส์ปาสเตอรได้เข้ามาทำวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์และโรคกลัวนํ้นคนโดยการนำเชื้อไวรัสของโรคกลัวน้ำมา ทำให้อ่อนกำลังลงและฉีดเข้าไปในร่างกายของคนและสัตว์นี้เองทำให้เกิดการฉีดวัคซีนเพื่อรักษาโรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวนํ้าขึ้นใน เวลาต่อต่อมา ช่วยคนป่วยให้รอดพ้นจากความตาย และมีผู้สร้างสถาบันปาสเตอร์ขึ้นในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติของเขา และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้การค้นคว้าวิจันในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติสืบต่อไป นอกจากนี้การค้นคว้าที่สำคัญเหล่านี้ หลุยส์ ปาสเตอร์ยังค้นคว้าหาวิธีแก้โรคอื่น ๆ เช่น อหิวาตกโรค วัณโรค คอตีบ เป็นต้นหลุยส์ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ.1895
ที่มา :http://school.obec.go.th/takbai/web51/index02.html

ประวัติอัลเบิร์ต ไอสไตน์


อัลเบิร์ต ไอสไตน์



ประวัติ :
ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้เชี่ยงชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955


ผลงาน :
-เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"
-เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
-ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no03-07/person/sec01p05.html

ประวัติเซอร์ ไอแซค นิวตัน


เซอร์ ไอแซค นิวตัน



ประวัติ :
เซอร์ไอแซค นิวตันเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษมในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุได้ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจจะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ นิวตันเป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ ปี 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้พอเกิด โรคระบาด มหาวิทยาลัยปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลา ต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่น การสัเกตการหล่นของผลแอปเปิ้ล ที่ให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และต่างๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนที่ไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่า ไม่มีสีหรือที่เรียกว่ามีสีขาวเกิดจากสีรุ้งนั่นเอง นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน และมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตี พิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง แล้วกล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุคจึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย นิวตันยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิดเหรียญที่ใช้กันในประเทศถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิด บางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสคร์ เชื่อในทฤษฏีที่ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะเช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตัน ผู้คนมีเชื่อกันเช่นนี้มาก ซึ่ง ในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลอง วิทยาศาสตร์และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรารดาศักดิ์เป็นท่าน " เซอร์"เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้วเซอร์ ไอแซคนิวตัน ถึ่งแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอ่ยู่ แม้ว่ามทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็น บุคคลสำคัญคนหนี่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์


ผลงาน :
-เป็นผู้พบแรงดึงดูดของโลก
-เป็นผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
ที่มา :
http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/2/scientist/scientistpic/scientistpic3/scientist39.htm

ประวัติชาร์ล์ ดาร์วิน


ชาร์ลส์ ดาร์วิน





ประวัติ :
ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ในชูว์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ซึ่งต้องากรให้ลูกชายดำเนินอาขีพทางด้านนี้เช่นกัน เขาจึงถูกส่งเปเรียนการแพทย์ที่เอดินเบอระ แต่เรียนได้ 2 ปีก็ลาออกเพราะใจไม่ชอบ ทางนี้ ชาร์ลส์เป็นคนที่ชอบสะสมสิ้งของที่เขาสนใจ เช่น แมลง (ที่ตายแล้ว) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลกๆ เขาเล่าในภายหลังว่าการสะสมของเขาเป็นการ เตรียมให้เขาทำงานเป็นนักธรรมชาติวิทยา หลังจากที่ลาออกจากการเรียนแพทย์ บิดาจึงส่งชาร์ลส์ไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนทางศาสนาเพื่อจะบวชเป็นพระ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นี้เองที่เขาได้รับการแนะนำจากอาจารย์สอนพฤกษศาสตร์ คนหนึ่ง ให้เขาไปเรียนวิชาธรณีวิทยาเพิ่มเติม จึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ในวิชา ธรรมชาติวิทยาที่เขาสนใจให้กว้างขาวางยิ่งขึ้น มีเรื่องเล่าว่าวันปนึ่งชาร์ลส์ได้เห็น แมลงที่หายากสองชนิดบนต้นไม้ เขาจับไว้ด้วยมือแต่ละข้างอย่างรวดเร็วแต่แล้วเขา เห็นตัวที่สาม ยิ่งหายากกว่า แมลงนั้นอยู่ตรงหน้าของเขาเขาเอาแมลงตัวหนึ่งใส่เข้าไป ในปากอย่างรวดเร็ว และยื่นมือออกไปจับตัวที่สามแต่ตัวที่อยู่ในปากของเขาได้คายน้ำ ชนิดหนึ่งออกมาซึ่งทำให้ลิ้นของชาร์ลส์ปวดแสบปวดร้อนอย่างมากจนทำให้เขาต้องถ่ม แมลงตัวนี้นออกมาเขาเป็นห่วงว่าจะสูญเสียแมลงตัวนั้นมากกว่าเป็นห่วงว่าจะทำให้ลิ้น เจ็บและแล้วโชคก็ผ่านมาในชีวิตเขากองทัพเรือได้เตรียมการออกสำรวจรอบโลกโดย ทางเรือชื่อ บีเกิล เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการรับรองของศาสตราจารย์ เฮนสโลวดาร์วินได้รับเชิญให้เป็นนักสำรวจธรรมชาติวิทยาการสำราจใช้เวลานานถึง 5 ปีทำให้ ดาร์วินได้มีโอกาสเปรียบเทียรสัตว์และพืชจากส่วนต่างๆ ของโลก เขาได้ เห็นสัตว์ที่มีถุงหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย และในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะไม่ พบในประเทศอื่นเมื่อการสำรวจมาถึงหมู่เกาะกาลาพากอสในอเมริกาใต้ดาร์วินก็ได้ พบสัตว์ชนิดต่างๆ และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิดซึ่งไม่พบในเกาะอื่น สิ่งที่พบ เห็นทำให้ดาร์วินต้องคิดอย่างหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่าสัตว์เหล่านั้นมี่การเปลี่ยน แปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นๆ ส่วนตัวใดที่ ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไปส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้นๆไปยังลูกหลานการ เปลี่ยนแปบงเป็นไปอย่างช้าๆ ตลอดเวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อย กว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ ชาร์ลส์ได้ เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรกคือ"เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิล"มันได้รับ การต้อนรับเป็นอย่างดี ชาร์ลส์ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของเขาเรื่องการกำเนิด ของชีวิต บางทีเขาอาจจะต้องการเวลามากกว่านี้สำหรับคิดเขากังวลอย่างมากในการที่ จะขัดแย้งกับความเห็นของศาสนาที่ทุกคนยอมรับ แต่นักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อ วอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับดาร์วิน เขาเขียนจดหมายถึงดาร์วิน ในปี 1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา เขาของร้องให้ดาร์วินช่วยส่งไปยังมหาวิทยาลัย ดาร์วินมีน้ำใจดีพอที่จะช่วยทำให้พร้อมกับเสริมไปว่า ดาร์วินเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียว กันแต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนเพราะว่าจะทำให้เกิดความโกลาหล เกิดขึ้นอย่างแน่นอนโชคดี นักธรรมชาติวิทยาที่เคมบริดจ์ทราบเรื่องผลงวานของดาร์วิน และชักชวนให้เขาเปิดเผยความคิดเห็น ดังนั้นเขาและวอลเลซจึงพิมพ์เอกสารขึ้นด้วยกัน หนึ่งปีต่อมาหนังสือที่มีชื่อเสียงของดาร์วินชื่อ"ออนดิออริจิน ออฟ สเปซี่ บายมีนส์ ออฟ เนเชอราล ซีเล็คชั้น"ก็ได้ปรากฏขึ้น และเหมือนดังที่ดาร์วินคาดคิดไว้ มันทำให้เกิดความ โกลาหล สิ่งที่ดาร์วินพูดถึงคือบอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ มันมีอายุ ยาวนานกว่านั้นมันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิต ต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันและผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้น ใหม่ๆ มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอดัมและอีฟในสวน อีเดนคงเป็นจริงไปไม่ได้ผู้คนคิดว่า ดาร์วินบอกว่าพวกเขาสืบเชื่อสายมาจากลิงเป็น ความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่งหนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธและขยะ แขยงฝ่ายศาสนจักรพร้อมที่จะเผชิญกับดาร์วินในปี 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่ อ๊อกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นีนเพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิด ของสัตว์และต้นไม้สำหรับเรา การประชุมกันแบบนี้ฟังดูเป็นเรื่องหัวโบราณเหลือเกิน แต่ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องจริงจังถึงแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความคิด เห็นของดาร์วินถูกต้อง และเรื่องราวของอดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าฝ่ายศาสนจักร ยังคงมีอำนาจมากจนดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขาจากการ หมกมุ่นในการทำงานทำให้สุขภาพของเขาทรุดลแต่เขายังคงทำงานต่อไป "เมื่อข้าพ เจ้าต้องหยุดการสัเกต ข้าพเจ้าก็ตาย" เขาพูดในวันที่17 เมษายน 1882 เขายังคง ทำงานอยู่ และเสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา

ผลงาน :
-เป็นผู้การค้นพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจนได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์"


ที่มา : http://dbsql.sura.ac.th/library/sc1/charles_darwin.htm